วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

   การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆ
    แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


    อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
   การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย [

ได้รับความไว้วางใจส่งดาวเทียมนิว ดอวน์



     บริษัทนิว ดอวน์ แซทเทิลไลท์ จำกัด  (New Dawn Satellite Company Ltd.) หรือ นิวดอวน์ (New Dawn) บริษัทร่วมทุนระหว่างอินเทลแซทและคอนเวอร์เจนซ์ พาร์ทเนอร์ส เลือกแอเรียนสเปซในการส่งดาวเทียมนิวดอวน์เข้าสู่วงโคจรในช่วงปลายปี 2553 โดยจรวดแอเรียน 5 หรือ โซยูส จากสถานีอวกาศ   กูรู เฟร้นช์ กียานา โดยการส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรในครั้งนี้นับเป็นการการสัญญาการส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรครั้งที่ 6 ในปี 2552 ของแอเรียนสเปซ
    ดาวเทียมนิวดอวน์เป็นดาวเทียมสื่อสารดวงที่ 50 ของอินเทลแซทที่แอเรียนสเปซได้ส่งเข้าสู่วงโคจร  สร้างโดยบริษัทออร์บิทัล ไซแอนส์ คอร์ปอเรชั่น มีน้ำหนักขณะส่งประมาณ 3, 000 กิโลกรัม และมีอายุการปฏิบัติงานมากกว่า 15 ปี จะทำหน้าที่ในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสื่อสารแบบไร้สาย อินเทอร์เน็ตและกลุ่มของฟังก์ชั่นการสื่อสารอื่น ๆ

การปฏิวัติจากภายใน...สู่การสร้างสันติภาพภายนอก




   จากความสำเร็จของการจัดงานฟื้นฟูศีลธรรมโลก พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยจึงมีนโยบายให้หาแนวทางพัฒนากิจกรรมนี้แก่เยาวชนนานาชาติ โดยมีเป้าหมายทั้งหมด 208 ประเทศ โดยให้ทำกิจกรรมบันทึกความดี แล้วคัดมาร่วมกิจกรรมที่ประเทศไทย จึงเกิดโครงการ Peace Revolution ขึ้น เพื่อพัฒนารูปแบบการเผยแผ่ศีลธรรมโลกด้วยการบันทึกความดีผ่านอินเตอร์เนต ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องบันทึกผลการปฏิบัติธรรม การรักษาศีล และเรียนรู้หลักธรรมทุกวัน กำหนดทดลองโครงการช่วงปลายปี พ.ศ. 2551 เพื่อคัดสรรตัวแทนเยาวชนเข้าร่วมงานมาฆบูชา พ.ศ. 2552 และมุ่งพัฒนาโครงการให้สามารถรองรับเป้าหมายที่ครอบคลุมทุกประเทศได้ในปี พ.ศ. 2552 และสามารถเชิญชวนเยาวชนจากทั่วโลก 208 ประเทศมาร่วมงานมาฆบูชาได้ในปี พ.ศ. 2553 ต่อไป

โลกอินเตอร์เน็ต



อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น